prepare ceo
TheCoach TheCoach
14.9K subscribers
606 views
0

 Published On Feb 14, 2019

สิบปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้โค้ชผู้บริหารระดับสูงที่ถูกวางตัวว่าจะเป็น “ซีอีโอคนต่อไป” จากหลากหลายอุตสาหกรรมพอสมควร
ปกติแล้วกระบวนการเริ่มต้นตั้งแต่คณะกรรมการสรรหาระบุคนที่มีศักยภาพ 2-3 คนที่มีโอกาสจะเป็นซีอีโอคนต่อไปได้ คนเหล่านี้คือผู้บริหารระดับ C-Level หรือเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง ซึ่งมีระดับรองจากซีอีโอหนึ่งขั้น บริษัทส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการเตรียมคนเหล่านั้น 1-2 ปี ซึ่งในแผนงานจะมีทั้ง 10% อบรม 20% Mentoring / Coachig และ 70% ประสบการณ์งานสำคัญ ตามหลักพัฒนา 10/20/70
หากคุณเป็นคนที่ถูกวางตัวให้เป็นว่าที่ซีอีโอคนต่อไป สิ่งที่ควรทำสิ่งแรกคือ ประเมินศักยภาพตนเองก่อนจากคำถามสำคัญหกข้อคือ
1. อะไรคือบริบทของธุรกิจของบริษัทคุณในห้าปีข้างหน้า
2. ยุทธศาสตร์อะไรที่เหมาะกับบริบทนั้น
3. ยุทธศาสตร์นั้นต้องการซีอีโอที่มีคุณสมบัติอะไร
4. คุณมีคุณสมบัติข้อไหนบ้าง
5. คุณขาดคุณสมบัติข้อไหนบ้าง
6. คุณวางแผนจะใช้การโค้ชผู้บริหารในการพัฒนาสิ่งที่ขาดไปอย่างไร
หลังจากการประเมินตนเองแล้ว คุณควรจะร่วมหารือกับโค้ชคุณเพื่อวางแผนพัฒนาจากการโค้ชผู้บริหารต่อไป
จากประสบการณ์ผมพบว่า สิ่งที่ “คนที่เป็นว่าที่ซีอีโอ” ส่วนใหญ่ มักต้องการพัฒนาต่อยอดให้เก่งขึ้นคือ “การโน้มน้าวคนอื่น - Influencing others”
ทำไมทักษะ Influencing จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนที่ถูกวางตัวเป็นว่าที่ซีอีโอ
เพราะว่าคนเหล่านี้คือคนที่อยู่ใน C-Level ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสั่งการและบังคับบัญชาคนที่อยู่ในอาณัติของเขา โดยที่เขาอาจเคยใช้ทักษะการโน้มน้าวมาบ้างเมื่อต้องประสานงานกับเพื่อนร่วมงานในระนาบเดียวกัน
แต่เมื่อคุณก้าวขึ้นมาเป็นซีอีโอแล้ว มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มขึ้นมากเลย และการทำงานกับคนเหล่านั้นคุณต้องใช้การโน้มน้าวมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้นมีใครบ้าง อาทิ คณะกรรมการบริษัท ข้าราชการระดับสูง NGO คู่แข่ง คู่ค้า ลูกค้ารายใหญ่ เพื่อนร่วมงานที่เป็นซีอีโอในต่างประเทศ ฯลฯ ดังนั้นการโน้มน้าวจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ในการโค้ชเรื่องการโน้มน้าวนั้น โค้ชจะใช้ Feedback ที่ได้จากการให้ทำแบบสอบถามเชิงจิตวิทยา และจากผลของการสัมภาษณ์ 360 ทำให้ผู้บริหารเกิดความตระหนักรู้ว่า
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ คาดหวังให้เขาเป็นอย่างไร ในการโน้มน้าว
แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสายตาคนเหล่านั้นเป็นอย่างไร
ช่องว่างในการพัฒนาคืออะไร
ทั้งโค้ชและผู้บริหารจะร่วมกันหารือว่า แนวทางการพัฒนาควรเป็นอย่างไร
แล้วลงมือดำเนินการการพัฒนาด้วยการโค้ชกันต่อไป
สำหรับท่านที่ต้องการเริ่มพัฒนาเรื่องนี้ ผมขอแนะนำว่าให้เริ่มที่หนังสือ “Influence without authority.” โดย Allan Cohen และ David Bradford ก่อนเลยครับ

show more

Share/Embed