“กระดูกสันหลัง ร.5” ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ตอน 1 l ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.232

 Published On Apr 29, 2024

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2394 ต้นเรื่องของชีวิตที่ยิ่งกว่าละครได้กำเนิดขึ้นที่วังท่าพระ ด้วยการประสูติของหม่อมเจ้าชายองค์น้อยที่กรมขุนราชสีหวิกรม พระราชโอรสรัชกาลที่ 3 ได้ประทานพระนามว่า “ปฤษฎางค์” ซึ่งแปลว่า “หลัง” เนื่องจากเป็นโอรสองค์สุดท้องลำดับที่ 7 ที่ประสูติแต่หม่อมน้อย บุตรีของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) อธิบดีกรมพระคลังมหาสมบัติในสมัย ร. 3
เมื่อถึงวัยอันสมควร กรมขุนราชสีหวิกรมทรงนำหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิม ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ที่พระราชวังเดิม สวนกุหลาบ
จนเมื่อคราวเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงผนวชเป็นสามเณร ประทับที่พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดระยะเวลา 6 เดือน หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงปฏิบัติหน้าที่มหาดเล็กข้าหลวงเดิมอย่างใกล้ชิดมิได้ห่าง
ครั้งนั้นเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงถามพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ พระอุปัชฌาย์ ถึงความหมายของชื่อ “หม่อมเจ้าปฤษฎางค์” เนื่องจากทรงเป็นผู้ตั้งชื่อนี้ให้ จึงได้รับคำตอบว่า “ปฤษฎางค์” แปลว่า “หลัง” เนื่องจากเป็นโอรสองค์สุดท้อง นับแต่นั้นมา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ก็ทรงเรียกล้อหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ว่า “กระดูกสันหลัง” จนเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วจึงได้ทรงเลิกเรียกชื่อนี้ไป
เหมือนชะตาฟ้ากำหนดให้มีเส้นทางเดินร่วมกัน เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ และหม่อมเจ้าปฤษฎงค์ ทั้งสองพระองค์มีพระชนม์มายุที่ไล่เลี่ย ห่างกันเพียงปีครึ่ง แต่ที่มากกว่านั้น ทั้งสองพระองค์ได้ชมสุริยุปราคาที่หว้ากอด้วยกัน และทั้งสองพระองค์ต้องทรงสูญเสียเสาหลักแห่งพระชนม์ชีพไปพร้อม ๆ กันด้วยพิษไข้มาลาเรีย
นี่เองอาจเป็นเหตุผลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมีพระเมตตาต่อหม่อมเจ้าปฤษฎางค์มากกว่าคนอื่นใด เป็นจุดเริ่มต้นของชะตาอันพลิกผัน จากพระมหากรุณาธิคุณของยุวกษัตริย์พระองค์ใหม่

show more

Share/Embed